ชิลเลอร์ Chiller น้ำเย็น

จำหน่าย ติดตั้ง ชิลเลอร์ Chiller ทำน้ำเย็น น้ำหล่อเย็น ของเหลวเย็น สำหรับอุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม นม น้ำผลไม้  รวมถึง อุตสาหกรรมต่าง ที่ต้องการ น้ำเย็น เพื่อเป็น น้ำหล่อเย็น ให้เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงบริการด้านการ ซ่อม ตรวจเช็ค (Prำventive maintenance , PM)ทั้งรายเดือน รายปี

ชิลเลอร์ Chiller สำหรับทำ น้ำเย็น น้ำหล่อเย็น มีให้เลือกหลายแบบ หลายขนาด ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งแบบระบายความร้อน ด้วยอากาศ หรือ ระบายความร้อน ด้วยน้ำ ขนาดของ ชิลเลอร์ มีตั้งแต่ ขนาดเล็ก แค่ 1 ตัน ไปจนถึง ขนาดใหญ่ หลายร้อยตัน ขึ้นกับ ปริมาณ น้ำเย็น หรือ น้ำหล่อเย็น ที่ต้องการใช้ต่อวัน

บริษัท ไอคูล เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความเย็นกว่า 15 ปี พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึง จำหน่าย และ ติดตั้ง ชิลเลอร์ Chiller สำหรับ ทำน้ำเย็น หรือ น้ำหล่อเย็น ที่อุณหภูมิต่างๆ ปกติแล้ว ตั้งแต่ -30 °C ถึง +25 °C  ขึ้นอยู่กับ ความต้องการ และ จุดประสงค์ ของการใช้งาน ปกติแล้ว น้ำ ที่นำมาใช้สำหรับทำ น้ำเย็น หรือเป็น น้ำหล่อเย็น จะมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า +2 °C เนื่องจากเข้าใกล้จุดเยือกแข็งของน้ำ ถ้าเราไม่มีระบบ safety ที่ดีพอ ค่า error แม้เพียงเล็กน้อยในระบบควบคุม อาจทำให้น้ำลดต่ำลง กว่าค่าที่ตั้งไว้ ทำให้น้ำในระบบ เป็นน้ำแข็ง นอกจากจะทำให้ ท่อน้ำแตกแล้ว อาจทำให้ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายตามไปด้วย ดังนั้น เราจึงใช้สาร ชนิดนึงผสมลงไปในน้ำ เพื่อทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำต่ำกว่า 0°C หรือ Anti – Freeze ซึ่งก็คือ Propylene Glycol ซึ่งสารตัวนี้ จะทำให้น้ำ ยังคงสถานะเป็นของเหลว แม้อุณหภูมิจะติดลบก็ตาม สัดส่วนระหว่าง น้ำ กับสาร Propylene Glycol ก็ขึ้นอยู่กับอุณภูมิของน้ำเย็นที่ต้องการ ถ้าต้องการอุณภูมิของน้ำที่ต่ำมาก ก็ต้องเพิ่ม ส่วนผสมของ Propylene Glycol ให้มากขึ้น ตามลำดับ

 

หลักการทำงานของ “ชิลเลอร์”

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะทำการดูด และ อัดสารทำความเย็น (Refrigerant) ที่อยู่ในสถานะแก๊ส (Gas) ที่มีแรงดันสูง ส่งไปยัง คอนเดนเซอร์

(Condenser) เพื่อระบายความร้อนให้แก่สารทำความเย็น จนเกิดการควบแน่นและมีสถานะเป็นของเหลวที่แรงดันสูง จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกลด

แรงดันผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Expansion valve เพื่อฉีดเข้าไปใน อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) ที่มีน้ำหรือของเหลวที่ต้องการทำให้เย็นอยู่ภายใน

แต่ไม่สัมผัสกันโดยตรง เมื่อสารทำความเย็นได้แลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำจะเกิดการเดือดในอีวาพอเรเตอร์ กลายสถานะเป็นแก๊สแรงดันต่ำและถูกดูด

กลับคอมเพรสเซอร์ เพื่อรอทำงานในรอบถัดไป ส่วนน้ำเมื่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับสารทำความเย็น จะทำให้มีอุณหภูมิที่ลดต่ำลงจนถึงระดับที่ต้องการ

แล้วนำน้ำเย็นนั้นไปใช้งานต่อไป

 

“ชิลเลอร์” แบ่งตามประเภท ของการระบายความร้อน ออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชิลเลอร์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ และ ชิลเลอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ

  1. ชิลเลอร์ ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ จะมีอุปกรณ์ หลักๆ อยู่ 4 ชนิด ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ วาล์วลดแรงดัน และ อีวาพอเรเตอร์
  2. ชิลเลอร์ ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ จะมีอุปกรณ์ หลักๆ อยู่ 5 ชนิด ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ คูลลิ่งทาวเวอร์ วาล์วลดแรงดัน และ อีวาพอเรเตอร์

ชิลเลอร์ chiller น้ำเย็น
ชิลเลอร์ chiller น้ำเย็น
ชิลเลอร์ chiller น้ำเย็น

ชิลเลอร์ ชนิดและขนาด ต่าง ๆ

นอกจากนี้ เรายังผลิต ถังเก็บน้ำเย็น cool water storage tank หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน ตามขนาดตามที่ต้องการ เพื่อสำรองน้ำเย็นให้เพียงพอกับปริมาณ

การใช้จริง และเผื่อช่วงเวลาที่เครื่อง ไม่สามารถผลิตน้ำเย็นได้ เช่น ไฟดับ น้ำไม่ไหล อุปกรณ์ หรือ เซ็นเซอร์ บางอย่างเกิดชำรุด เป็นต้น โดยถังเก็บน้ำเย็นนี้

ทำจากถัง stainless อย่างหนา หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน จึงมั่นใจได้ว่า ถึงเก็บน้ำเย็นยังคงรักษาความเย็น และสำรองน้ำให้เพียงพอ ต่อปริมาณการ

ใช้งานจริงได้

ถังเก็บน้ำเย็น stainless หุ้มฉนวน

ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำ ได้ที่

โทร : 089-6656668 , 063-8717117
Line ID : icoolet
website : Water Chiller – ICOOL ENGINEERING & TECHNOLOGY (icoolet.com)
FB : www.facebook.com/icooltechnology

#chiller #ชิลเลอร์ #น้ำเย็น #น้ำหล่อเย็น #เครื่องทำน้ำเย็น #หล่อเย็น #ความเย็น #เครื่องทำควา่มเย็น #ติดตั้ง #จำหน่าย #ระบบ #ตรวจเช็ค #ซ่อมแซม #ปรับปรุง #ice #bank #icebank #cold #cool #water #storage #tank #ahu #ปรับอากาศ #แอร์ #air #conditioning #แลกเปลี่ยน #ความร้อน #maintenance #PM

Leave a Comment